"..คนทุกคน ไม่ว่าชาวกรุงหรือชาวชนบท ไม่ว่ามีการศึกษามากหรือน้อยอย่างไร ย่อมมีจิตใจเป็นอิสระ มีความคิดเห็น มีความพอใจ มีรสนิยม เป็นของตนเอง ไม่ชอบการบังคับ นอกจากนั้นยังมีขนบธรรมเนียม มีแบบแผนในความประพฤติปฏิบัติเฉพาะเหล่าเฉพาะถิ่นอีกด้วย การที่ท่านจะนำสิ่งต่างๆไปมอบให้หรือไปแนะนำ สั่งสอนโดยรีบร้อนให้ได้ผลทันใจ บางทีจะรู้สึกว่าขลุกขลักติดขัดไม่น้อย อย่างเช่น อย่างเช่นจะนำหลักวิชาโภชนาการไปแนะนำคนในชนบทอาจยังไม่ยอมรับ ไม่บริโภคตามคำแนะนำของท่านทันทีทันใด ไม่ใช่เพราะไม่เชื่อฟังหรือขัดขืน แต่อาจจะเป็นการขัดกับความเคยชินและความนิยมที่เขามีอยู่ก่อน ท่านไม่ควรยอมปล่อยให้ปัญหาอย่างนี้ เป็นสาเหตุให้เกิดความไม่พอใจ ขัดใจหรือท้อถอยขึ้น เพราะจะทำให้งานทุกอย่างหยุดชะงักและล้มเหลว ควรอย่างยิ่งที่จะต้องอดทนและพยายามทำหน้าที่ต่อไปด้วยปัญญา ด้วยความปราถนาดีและรอบคอบ สุขุม เมื่อได้ปฏิบัติอย่างเต็มที่ด้วยความหวังดีและบริสุทธิ์ใจโดยถูกต้องแล้ว ถึงหากจะได้ผลน้อยไป ล่าช้าไปบ้าง ก็ควรจะพอใจแล้ว คนทุกคน ตามปกติย่อมมีความจริงใจเชื่อใจในกันและกัน ถ้าท่านปฏิบัติงานปฏิบัติตนถูกต้องโดยความบริสุทธิ์ใจและจริงใจต่อผู้อื่นแล้ว จะทำงานให้บรรลุความสำเร็จได้แน่นอน..."
พระบรมราโชวาท
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ประกาศนียบัตรและอนุปริญญาบัตร
แก่นักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล วันเสาร์ที่ ๒๔ กันยายน ๒๕๒o
อนาวิน
มีข้อคิดแทรกอยู่ในทุกๆคำทุกๆประโยคจริงๆ ขอบคุณดิวที่นำมาฝาก เป็นถ้อยคำที่เข้าใจง่ายตรงไปตรงมาแต่ลึกซึ้งกินใจ
ตอบลบธีรินทรา
เป็นลักษณะของการสื่อสารซ้อนการสื่อสารซึ่งความปราถนาดี ความจริงใจ สุขุมรอบครอบ จะช่วยให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างแท้จริง เพื่อปณะโยชน์ต่อทั้งผู้ส่งและผู้รับสาร..
ตอบลบ** อาม ตอนแรกอ่านแล้วก็มานั่งคิดว่ามันจะเกี่ยวกับวิชาเรียนไหม แต่พออ่านแบบลึกซึ้งแล้วก็เห็นว่าลักษณะของประโยคเป็นการใช้ภาษาง่ายๆ แต่จริงใจดี.