วันจันทร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2553

เครื่องหมาย...ลบ










ชอบเรื่องนี้มากๆ...ความเป็นจริงในสังคม
คนเราชอบวิพากย์วิจารณ์ผู้อื่น ทั้งๆที่บางทีก็ไม่ได้รู้จักตัวตนหรือทราบเหตุผลของคนที่พวกเค้ากล่าวถึง ว่ากันไป นินทากันไปต่างๆนานา ถ้าคนที่รับฟังมีวิจารณญานก็ดีไป แต่ถ้าไม่..ก็นินทากันไปไม่สิ้นสุด ทั้งๆที่ไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์อะไรต่อใครขึ้นมา มีแต่จะทำให้คนหลายคนต้องเสียความรู้สึกกันไป..เพียงเพราะความสนุกปาก คงจะดีไม่น้อยหากเราจะลด ละ เลิก การนินทาว่าร้ายผู้อื่นลง และหันมาพูดถึงแต่สิ่งที่ดีๆ โลกคงน่าอยู่ขึ้นเยอะเลย

บทความนี้คงเป็นบทความส่งท้ายปลายปี 2553 เลยอยากให้ทุกคน "ลบ" สิ่งต่างๆที่ไม่ดีในตัวเองออกไป ไม่ว่าจะเป็นความรู้สึก ความทรงจำ รวมทั้งพฤติกรรม ทัศนคติและนิสัยที่อยากเปลี่ยนแปลง เป็นโอกาสดีอีกครั้งที่จะเริ่มต้นรับสิ่งที่ดี

"ลบ" เพื่อเปิดที่ว่างให้เรื่องดีๆ คนดีๆ และความคิดดีๆเข้ามากันเถอะ ^______^"
สวัสดีปีใหม่ทุกๆคน

อาม

วันจันทร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2553

"การมีส่วนร่วม" และ "ประโยชน์ส่วนรวม"

หลักการทรงงาน 
"การมีส่วนร่วม" และ "ประโยชน์ส่วนรวม"

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นนักประชาธิปไตย ทรงเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายทั้งสาธารณชน
ประชาชนหรือเจ้าหน้าที่ทุกระดับได้เข้ามาร่วมกันแสดงความคิดเห็นและร่วมกันทำงานโครงการพระราชดำริ โดยคำนึงถึงความคิดเห็นของประชาชนหรือความต้องการของสาธารณชนด้วย ดังพระราชดำรัสความตอนหนึ่งว่า "...สำคัญที่สุดจะต้องหัดทำใจให้กว้างขวางหนักแน่น รู้จักรับฟังความคิดเห็น แม้กระทั่งความวิพากษ์วิจารณ์จากผู้อื่นอย่างฉลาด เพราะการรู้จักรับฟังอย่างฉลาดนั้นแท้จริงคือการระดมสติปัญญาและประสบการณ์อันหลากหลายมาอำนวนการปฏิบัติบริหารงานให้ประสบความสำเร็จที่สมบูรณ์นั่นเอง..."
"...การไปช่วยเหลือประชาชนนั้น ต้องรู้จักประชาชน ต้องรู้ว่าประชาชนต้องการอะไร ต้องอาศัยความรู้ในการช่วยเหลือ..."
สำหรับวิธีการมีส่วนร่วมพระองค์ทรงนำ"ประชาพิจารณ์" มาใช้ในการบริหารจัดการดำเนินงาน ซึ่งเป็นวิธีการที่เรียบง่ายตรงไปตรงมา โดยหากจะทำโครงการใดจะทรงอธิบายถึงความจำเป็นและผลกระทบที่เกิดกับประชาชนทุกฝ่าย รวมทั้งผู้นำชุมชนในท้องถิ่น เมื่อประชาชนในพื้นที่เห็นด้วยแล้ว หน่วยราชการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องและร่วมดำเนินการมีความพร้อม จึงจะพระราชทานพระราชดำริให้ดำเนินโครงการนั้นๆ ต่อไป

การปฏิบัติพระราชกรณียกิจและการพระราชทานพระราชดำริในการพัฒนาและช่วยเหลือพสกนิกรในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงระลึกถึงประโยชน์ของส่วนรวมเป็นสำคัญ ดังพระราชดำรัสความตอนหนึ่งว่า "...ใครต่อใครบอกว่า ขอให้เสียสละส่วนตัวเพื่อส่วน อันนี้ฟังจนเบื่อ อาจรำคาญด้วยซํ้าว่า ใครต่อใครมาก็บอกว่าขอให้คิดถึงประโยชน์ส่วนรวม อาจมานึในใจว่า ให้ๆ อยู่เรื่อยแล้วส่วนตัวจะได้อะไร ขอให้คิดว่าคนที่ให้เป็นเพื่อส่วนรวมนั้น มิได้ให้ส่วนรวมแต่อย่างเดียว เป็นการให้เพื่อตัวเองสามารถที่จะมีส่วนรวมที่จะอาศัยได้..."


ดิว..

วันเสาร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2553

เรื่องเล่าจากหญิงชรา...

...วันแรกที่พวกเราเริ่มการเรียนในมหาวิทยาลัยนั้น อาจารย์ของเราได้เข้ามาแนะนำตัว และบอกให้พวกเราทำความรู้จักกับคนอื่นๆ
ที่เราไม่รู้จักมาก่อน ผมยืนขึ้นแล้วมองไปรอบๆ และมี มือๆ หนึ่ง เอื้อมมาจับบ่าของผม ผมหันไปพบกับหญิงชราร่างเล็ก ผิวหนังเหี่ยวย่น ที่ส่งรอยยิ้มอันเป็น ประกายมาให้ผม รอยยิ้มนั้นทำให้เธอดูสดใสอย่างยิ่ง หญิงชราคนนั้นกล่าวขึ้นว่า ...

“สวัสดี รูปหล่อ ฉันชื่อโรส อายุแปดสิบเจ็ดแล้ว มาให้ฉันกอดสักทีสิ”

ผมหัวเราะกับท่าทางของเธอ และตอบอย่างร่า เริงว่า

“แน่นอน ได้สิครับ ”

แล้วเธอก็กอดผมอย่างแรง ผมถามเธอว่า ...

“ทำไมคุณถึงมาเรียน มหาวิทยาลัย เอาตอนที่อายุน้อยและไร้เดียงสาอย่างนี้ละ.. ”

เธอตอบด้วยเสียงปนหัวเราะว่า “ฉัน มาหาสามีรวยๆ ที่ฉันจะได้แต่งงานด้วย แล้วมีลูกสักสองสามคน...”

ผมขัดจังหวะเธอ โดยถามว่า “ไม่เอาครับ.. ถามจริงๆ”

ผมสงสัยจริงๆ ว่า อะไรทำให้เธอมาเรียนที่นี่ตอนที่อายุขนาดนี้ และเธอ ตอบว่า " ฉันฝันมานานแล้ว ว่าฉันจะได้ปริญญา และตอนนี้ ฉันก็กำลังจะได้ปริญญาที่ฉันฝัน”

หลังเลิกเรียนวิชานั้น เราเดินไปที่อาคารสโมสรนักศึกษาด้วยกัน และนั่งกินชอคโกแลตปั่นด้วยกัน เรากลายเป็นเพื่อนกันในทันที ตลอดสามเดือนหลังจากนั้น เราจะออกจากชั้นเรียนพร้อมกัน และจะไปนั่งคุยกันไม่หยุด ผมนั้นประหลาดใจเสมอเมื่อได้ฟัง“ยานเวลา" ลำนี้ แบ่งปันความรู้ และประสบการณ์ของเธอให้กับผม

ตลอดปีนั้น โรสได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยของเรา และเธอนั้นจะเป็น เพื่อนได้กับทุกคนในทุกที่ที่เธอไป เธอรักที่จะแต่งตัวดีๆ และดื่มด่ำอยู่กับความสนใจ ที่นักศึกษาคนอื่นๆ มีให้กับเธอ เธอได้ใช้ชีวิตอย่างเต็มที่ เมื่อถึงตอนสิ้นสุดภาคการศึกษา เราได้เชิญโรสให้มาพูดที่งานเลี้ยงของทีมฟุตบอลของเรา ผมไม่เคยลืมเลยว่า เธอได้สอนอะไรให้กับเรา ... พิธีกรแนะนำตัวเธอ และเธอก็เดินขึ้นมาที่แท่น ตอนที่เธอกำลังเตรียมตัวที่จะพูดตามที่เธอตั้งใจนั้น เธอทำการ์ดที่บันทึกเรื่อง ที่เธอจะพูดตกพื้น เธอทั้งอาย ทั้งประหม่า แต่เธอโน้มตัวเข้าหาไมโครโฟนแล้วบอกว่า

“ขอโทษด้วย นะ ที่ฉันซุ่มซ่าม ฉันเลิกกินเบียร์มาตั้งนานแล้ว แต่วิสกี้พวกนี้มันแรงจริงๆ... ฉันคงจะเอาบทของฉันมาเรียงใหม่ไม่ทันแล้วงั้นฉันก็คงได้แค่บอกเรื่องที่ฉันรู้ให้กับพวกคุณก็แล้วกัน”

พวกเราทุกคนหัวเราะกันท้องคัดท้องแข็ง ตอนที่เธอเริ่มต้นว่า
“พวกเราทุกคนนั้น ไม่ได้หยุดเล่นเพราะเราแก่หรอก แต่เราแก่เพราะว่าเราหยุดเล่น ที่จริงแล้วมีเคล็ดลับสู่การที่จะยังหนุ่มสาวอยู่เสมอมีความสุข และประสบความสำเร็จอยู่ 4 ประการ

1) พวกคุณจะต้องหัวเราะ และมีเรื่องสนุกๆ ขำขันทุกวัน

2) พวกคุณจะต้องมีความฝัน เมื่อไรก็ตามที่คุณสูญเสีย ความฝันของคุณไป คุณจะตาย มีคนมากมายที่ยังเดินไป เดินมาอยู่ทั้งๆ ที่ตายไปแล้วและไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่าตายไปแล้ว..

3) การที่คุณ “แก่ขึ้น” กับ “เติบโตขึ้น” นั้นมันต่างกันมาก ถ้าคุณอายุสิบเก้า แล้วนอนอยู่บนเตียงเฉยๆ ปีหนึ่ง และไม่ทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอันเลย ตลอดทั้งปี คุณก็จะอายุยี่สิบ ถ้าฉันอายุแปดสิบเจ็ดแล้วนอนเฉยๆ ไม่ทำอะไรเลยตลอดทั้งปี ฉันก็จะอายุ แปดสิบแปด ทุกๆ คนนั้นจะแก่ขึ้น ทั้งนั้น ไม่จำเป็นต้องอาศัยความสามารถอะไรเลย ประเด็นของการ เติบโตขึ้น นั้นอยู่ที่การแสวงหาโอกาสในการ
เปลี่ยนแปลง

4) อย่าทิ้งอะไรไว้ให้เสียใจภายหลัง คนสูงอายุส่วนใหญ่นั้น ไม่เสียใจกับสิ่งที่ได้ทำลงไปแล้ว แต่มักจะเสียใจกับสิ่งที่ยังไม่ได้ทำ คนที่กลัวความตายนั้น มีแต่คนที่ยังมีสิ่งทีต้องเสียใจค้างอยู่ "

เธอจบการพูดของ เธอด้วยการร้องเพลง “The Rose” อย่างกล้าหาญ และเธอได้แนะให้พวกเราทุกคนศึกษาเนื้อร้องของเพลงนั้นและเอาความหมายเหล่านั้นมา ใช้กับชีวิตประจำวันของพวกเรา เมื่อสิ้นปีการศึกษานั้น โรสได้รับปริญญาที่เธอได้เริ่มฝันไว้เมื่อนานมาแล้ว หนึ่งสัปดาห์หลังจบการศึกษา โรสจากไปอย่างสงบ เธอนอนหลับไปและไม่ตื่นขึ้นอีกเลย ...นักศึกษากว่าสองพันคนไปร่วมพิธีศพของเธอ เพื่อแสดงความเคารพ ต่อหญิงชราผู้วิเศษ ผู้ได้สอนให้พวกเขาได้รู้ ด้วยการทำให้เห็นเป็นตัวอย่างว่า.......ไม่มีคำว่าสายเกินไป ที่จะเป็นทุกสิ่งที่คุณสามารถเป็นได้

เรื่องราวเหล่านี้ส่งต่อกันมาเพื่อระลึกถึงหญิงชราที่ชื่อ โรส ...จงจำไว้ว่า

"การแก่ขึ้นนั้น เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่การเติบโตขึ้นนั้นเป็นสิ่งที่เราเลือกได้ เราอยู่ได้ด้วยสิ่งที่เราได้รับ แต่เราจะมีชีวิตอยู่เพราะสิ่งที่เราให้ไป"

อาม ธีรินทรา

วันเสาร์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ูู^^ ขอซีเรีสนิดนึงนะค่ะ!!!!

กิ๊ฟนั่งเล่นเวบพันทิพไป แล้วไปเจอกระทู้นี้เข้า
เป็นเรื่องราว case study หรือประสบการณ์เรื่องHIV
ซึ่งกิ๊ฟอ่านแล้วนั่งจิตตกไปหลายวัน
คือไม่ได้จิตตกที่ตัวเองจะติดนะ 5555+
แต่จิตตกที่ว่า ยาต้านไวรัสเอสด์อะทำให้ผู้ป่วยดูปกติ
จนทำให้เค้าไม่ระวังและไม่ป้องกันเพราะเค้าคิดว่าเค้าไม่เป็นอะไร
และไปแผร่เชื้อให้กับผู้อื่นต่อไป

และอีกประเภท คือคนทีรู้ว่าตนเองเป็นอะไร แต่ก็ไปมีอะไรกับคนอื่นโดยที่ตัวเองไม่ป้องกันคือไปหยิบยื่นความตายให้เค้า
จริงอยู่ที่เรื่องพวกนี้ต้องป้องกัน
แต่สุดท้าย ความไม่ประมาท และสติเท่านั้น
กิ๊ฟลองยกจ้อความบางข้อความจากกระทู้ มาให้อ่านนะคะรู้สึกหดหู่สุดๆๆอะคะ

เด็กหญิงอายุ15มารดามาแจ้งความ ว่าพ่อเลี้ยงกระทำชำเราลูกสาว

ระหว่างแพทย์ซักประวัติ ตรวจร่างกาย
เด็กบอกว่า ถูกพ่อเลี้ยงปลุกปล้ำ
แต่ในครั้งต่อๆมา ตัวเด็กยินยอมมีพสพ.โดยสมัครใจ

พยาบาลแผนกสังคมสงเคราะห์ซักประวัติมารดา ถึงสภาพแวดล้อม ความสัมพันธ์ในครอบครัว
ตัวคนเป็นแม่เล่าไปร้องไห้ไป ดูแล้วมีความคับข้องใจมาก

คุณพยาบาลเข้าใจว่า มารดาคงจะเสียใจ ที่ลูกยอมนอนกับพ่อเลี้ยง
แต่ในที่สุด แม่ของเด็กก็เล่าความจริงออกมาว่า
ตัวเธอตรวจพบว่าเป็นผู้ติดเชื้อมาหลายปีแล้ว
สามีคนเก่าก็เสียชีวิตจากการติดเชื้อไปหลายปี
จึงได้ย้ายที่อยู่ และในทีุ่สุดก็มาพบกับสามีคนปัจจุบัน
และอยู่กินกัน โดยสามีใหม่ไม่ทราบ เพราะเธอเองกินยาสม่ำเสมอ
สุขภาพแข็งแรงดีมาตลอด

แต่แล้ว เคราะห์กรรมก็มาตกกับลูกสาวอย่างคาดไม่ถึง!!
by : คุณฟ้าหมาดฝน

วันพฤหัสบดีที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กฎแห่งความโชคดี

 กฎแห่งความโชคดีที่สำคัญข้อหนึ่งคือ
“กฎแห่งความคาดหมาย” หรือ The Law of Expectation
ซึ่งกล่าวว่า
“Whatever you expect, with confidence, becomes
your own self-fulfilling prophecy.”
“สิ่งที่คุณคาดหมายด้วยความมั่นใจ จะกลายเป็นคำทำนายที่
เป็นจริงด้วยตัวของมันเอง”
Richard Wiseman นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน ซึ่งได้ทำวิจัย
อย่างละเอียดในเรื่องโชค ศึกษาคนที่เรียกว่า “โชคดี” และ
ได้เขียนเป็นหนังสือชื่อว่า The Luck Factor
หนึ่งในผลสรุปข้อสำคัญของ Wiseman ก็คือ
“คนโชคดีคาดหมายว่าตนเองจะโชคดี”
ผมขอยกตัวอย่างจากประสบการณ์ของผมเอง
..ตอนผมมีโอกาสได้เข้าไปเรียนปริญญาโท
เอกการอำนวยเพลง (Conducting) ที่มหาวิทยาลัยมิชิแกน
ประเทศสหรัฐอเมริกา (ปี ค.ศ. 1995-6) เป็นวิชาเอกที่
เข้ายากมาก เพราะมีชื่อเสียงทางด้านการสอนวาทยกรเป็น
อันดับ Top 3 ของอเมริกาในขณะนั้น ปีหนึ่งรับแค่สองคน
จากผู้สมัคร 200 กว่าคน
เนื่องจากปริญญาโทมีสองปี จึงมีนักเรียนทั้งหมดแค่สี่คน
แน่นอน เมื่อผมเข้าไปใหม่ ๆ ก็ยกย่องรุ่นพี่และอยากเรียนรู้
จากพวกเขา เพราะรู้สึกว่า เขาต้องเก่งมากแน่ อีกทั้งเขา
เป็นคนอเมริกันทั้งคู่ ก็ยิ่งรู้สึกว่าเขารู้มากกว่าเราเยอะ
ทั้งขนบธรรมเนียม ภาษา ผู้คน วิชาความรู้ และที่สำคัญ
วัฒนธรรมอเมริกัน
รู้สึกตัวว่าตนเองเป็น “บ้านนอก” นิด ๆ
คนหนึ่งนั้นเรียนจบปริญญาตรีเกียรตินิยมมาจากมหาวิทยาลัย
Yale ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงและมีเกียรติมาก
(บุคคลสำคัญ ๆ ของอเมริกาหลายคน รวมทั้งประธานาธิบดี
George W. Bush ก็จบจากที่นั่น)
โอกาสที่เขาเหล่านั้นจะก้าวหน้าในประเทศของเขาเองมีมาก
กว่าผมมาก
แต่เมื่อรู้จักไปนาน ๆ ก็ได้รู้ว่า ความคาดหมายของเพื่อนร่วม
คณะทั้งสามคน สำหรับผมแล้ว “ธรรมดาเหลือเกิน”
ในความคิดของพวกเขา เป้าหมายที่ “ยิ่งใหญ่” ที่เขาอยากได้
กันมากที่สุดหลังได้ปริญญาก็คือ มีงานทำ
พวกเขาจะตื่นเต้นกันมากเมื่อได้ยินว่า มีศิษย์เก่าคนไหน
“ได้งานทำ” แล้ว เสมือนเป็นความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่
(ซึ่งผมมาเรียนรู้ทีหลังว่า ในวงการวาทยกร การ “มีงานทำ”
ก็เป็นความสำเร็จแล้ว เพราะวาทยกรอเมริกัน 99% ตกงาน!)
ผมแปลกใจมาก เพราะแทบไม่เชื่อว่า “ความคาดหมาย”
ของบุคคลที่ถือว่าเป็นมันสมองในมหาวิทยาลัยชั้นนำของ
ประเทศอเมริกาจะ “น่าเบื่อ” ขนาดนี้
ไม่ใช่ว่าผมหยิ่ง หรือคิดว่าผมดีหรือเก่งกว่าเขา เพราะผมไป
อเมริกาแบบไม่มีต้นทุน นอกจากความทะเยอทะยานกับ
ความต้องการแสวงหาโอกาสที่ไม่มีในบ้านของตนเอง
ความตั้งใจและ “ความคาดหมาย” ของผมตั้งแต่ออกจาก
ประเทศไทย ก็คือ
“ผมต้องการ ‘พิชิต’ อเมริกาให้ได้”
ผมไม่แค่ต้องการให้ “ได้งาน” เท่านั้น
ผมต้องการ “มีชื่อเสียง”
แค่ทำงานไปวัน ๆ ได้เงินเดือนแบบเลี้ยงตัวไปได้เรื่อย ๆ
สำหรับผมแล้ว “ไม่คุ้ม”
ไม่คุ้มที่จะข้ามน้ำข้ามทะเลไปเรียนถึงอเมริกา
ไม่คุ้มกับที่ผมละทิ้งโอกาสมีอาชีพที่ “มั่นคง”
ที่ประเทศของตนเอง
ไม่คุ้มที่ต้องห่างเหินจากครอบครัวไปทำมาหากินประเทศคนอื่น
ความคาดหมาย (Expectation) ที่ผมมีกับอาชีพของผมต่างกับ
เพื่อนร่วมชั้นอย่างสิ้นเชิง
ผลหรือครับ?
เหมือนกับว่า “โชค” นั้นเข้าข้างผมตลอดเวลา
ตลอดเวลาที่ผมมีอาชีพอยู่ในอเมริกานั้น ถึงตอนนี้เป็นเวลา
สิบกว่าปีแล้ว ผมได้ตักตวงเอาโอกาสที่อเมริกามีให้ได้มากกว่า
เพื่อนร่วมชั้นหลายเท่า
ได้ทุนที่เพื่อน ๆ ชาวอเมริกันไม่ได้ ได้โอกาสที่เขาไม่ได้
ในขณะที่เพื่อนยังเป็นแค่นักศึกษากันอยู่ ผมได้เดินทางทั่ว
อเมริกาและยุโรปไปทำงาน เข้าคอร์สพิเศษ พบปะผู้คน
และได้รับความสนใจต่าง ๆ จากสื่อของอเมริกา
จนถึงตอนนี้ 10 กว่าปีให้หลัง เพื่อน ๆ เหล่านั้นก็ยังกระโดด
จากงานหนึ่งไปอีกงานหนึ่งในระดับเล็ก ๆ พอ ๆ กัน
ไม่ค่อยก้าวหน้าขึ้นเท่าไรนัก
เพราะเป้าหมายของเขาคือแค่ “ขอให้มีงานทำ”
ผมรู้ว่าไม่ใช่เป็นเพราะความสามารถที่เป็นทุนเดิมของผม
มีมากกว่าเพื่อนร่วมคณะคนอื่น
แต่เป็นเพราะ “ความคาดหมาย” ของผมมีมากกว่า!
เมื่อความคาดหมายเราสูง เราจะ “ดึงดูด” สิ่งที่มันตรงกับ
ความคาดหมายของเราเข้ามา..
(บัณฑิต อึ้งรังษี)

ดิว..

วันอังคารที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2553

รู้งี้ . . .








...ได้รับเมลจากเพื่อนเก่าคนนึง ส่งข้อความนี้มาให้ ชอบมากเลยและคิดว่าคงโดนใจใครหลายๆคน สำหรับตัวอามเองก็เคยคิดถึงเรื่องราวต่างๆที่ผ่านเข้ามาในชีวิต การตัดสินใจที่จะทำหรือไม่ทำอะไรซักอย่าง หลายครั้งที่คิดถามกับตัวเองว่าถ้าไม่ทำจะเสียใจมั้ย? หรือจะเสียดายทีหลังรึเปล่า? ซึ่งคำถามง่ายๆสองคำถามนี้มันช่วยให้เราตัดสินใจได้ง่ายขึ้นมากเลยทีเดียว และหากต้องเลือกที่จะเสียใจหรือเสียดาย อย่างใดอย่างหนึ่ง โดยประสบการณ์ส่วนตัวแล้ว "เสียดาย" เป็นอะไรที่เลวร้ายที่สุด เพราะมันจะฝังใจเราไปตลอด

...หากอยู่ในสถานการณ์ที่ต้องเลือกทางเดิน เลือก...ที่จะทำหรือไม่ทำอะไรซักอย่าง ลองตั้งคำถามง่ายๆสองคำถามนี้ดูนะ อาจจะช่วยให้อะไรๆง่ายขึ้น^^"

อาม